วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติสโมสร




ชื่อเต็ม : Manchester United Football Club
ฉายา : The Red Davils ( ปิศาจแดง )
ก่อตั้ง : ค.ศ. 1878
สนาม : โอลด์แทรฟฟอร์ด ( ความจุ 76,212 คน )
ที่ตั้ง : เมืองแมนเชสเตอร์
เจ้าของสโมสร : มัลคอล์ม เกลเซอร์
ประธานสโมสร : มาร์ติน เอ็ดเวิดส์
ผู้จัดการทีม : เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน


ประวัติสโมสรสโมสรในช่วงแรก (1878-1945)สโมสรในช่วงแรก (1878-1945) สโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดก่อตั้งโดยกลุ่มพนักงานกรรมกรในเหมืองแร่ถ่านหินในเมืองแมนเชสเตอร์ โดยในตอนแรกนั้นเป็นเพียงแค่สโมสรชั้นต่ำที่ทำการแข่งขันกันระหว่างคนงานด้วยกัน ต่อมามีพนักงานคนหนึ่งชื่อ J.C. Kuya เป็นคนผิวดำ มีเชื้อชาติแอฟริกัน ได้ออกมาประกาศว่าสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดจะก้าวไปเป็น 1 ในสโมสรที่ดีที่สุดในโลกในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งจากคำพูดนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นอย่างมากภายในกลุ่มคนงานด้วยกัน เนื่องจาก Kuya นั้น เป็นเพียงแค่ตัวสำรองในทีมซะเป็นส่วนใหญ่ แต่กลับกล้าออกความเห็นในที่สาธารณะ ซึ่งควรจะเป็นสิทธิของคนที่เป็นกัปตันทีม ซึ่งในขณะนั้น คือ Donny Dever ชาวอังกฤษโดยกำเนิด มีภูมิลำเนาเดิมอยู่แถบเมืองลิเวอร์พูล แต่เนื่องจากตกงานเป็นเวลานานจึงระหกระเหเร่ร่อนออกมาเป็นคนงานเหมืองแร่ในแถบเมืองแมนเชสเตอร์ ความขัดแย้งในครั้งนี้รุนแรงมากถึงขนาดมีการแบ่งแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนขาว นำโดย Dever และกลุ่มคนดำ นำโดย Kuya ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สโมสรเลยทีเดียว โดยมีผู้เสียชีวิตมากเกือบร้อยคน แต่เรื่องนี้กลับถูกปิดเป็นความลับที่มีน้อยคนนักที่ได้รู้ ยุคของเซอร์ แมตต์ บัสบี้ (1945-1969) แมตต์ บัสบี้ได้เข้ามาคุมทีมในปี 1945 เขาได้นำความสำเร็จมาสู่สโมสรได้อย่างรวดเร็ว โดยได้อันดับสองของฟุตบอลลีกใน


ยุคของเซอร์ แมตต์ บัสบี้ (1945-1969)แมตต์ บัสบี้ได้เข้ามาคุมทีมในปี 1945 เขาได้นำความสำเร็จมาสู่สโมสรได้อย่างรวดเร็ว โดยได้อันดับสองของฟุตบอลลีกในปี 1947 และชนะเลิศเอฟเอ คัพในปีต่อมา
บัสบี้เป็นคนที่ดึงนักเตะจากทีมเยาวชนขึ้นมาหลายคน จนได้แชมป์ลีกในปี 1956 ด้วยอายุเฉลี่ยของนักเตะเพียง 22 ปีเท่านั้น ในปีต่อมา เขาก็ได้พาทีมเป็นแชมป์ลีกอีกครั้ง และยังเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเอฟเอ คัพ แต่ไปไม่ถึงดวงดาวโดยการแพ้ต่อแอสตัน วิลลา แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นทีมแรกของอังกฤษที่ได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลยูโรเปี้ยนคัพ และยังได้เข้าถึงรอบรองชนะเลิศอีกด้วย
ในปี 1958 ได้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของสโมสร เมื่อเครื่องบินที่บรรทุกนักเตะและทีมงานของสโมสร ที่กลับจากการไปแข่งขันยูโรเปียนคัพรอบก่อนรองชนะเลิศกับทีมเรดสตาร์ เบลเกรด ซึ่งแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดสามารถผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศแล้วได้ประสบอุบัติเหตุที่สนามบินในเมืองมิวนิค หลังจากแวะพักเครื่องบินที่เมืองมิวนิค ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ เวลาประมาณบ่าย 3 โมง เหตุการณ์ครั้งนั้นได้คร่าชีวิตนักเตะของทีมไปถึง 8 คน รวมถึงทีมงานสต๊าฟโค้ชและผู้โดยสารคนอื่นอีก 15 คน รวมเป็น 23 คน หนึ่งในคนที่เสียชีวิตในครั้งนี้ คือ ดันแคน เอ็ดเวิร์ด นักเตะดาวรุ่งพรสวรรค์สูงสุดในขณะนั้น จากเหตุการณ์ครั้งนี้ มีผู้คาดว่าจะเป็นจุดตกต่ำของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด แต่จิมมี เมอร์ฟีได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมในช่วงที่บัสบี้กำลังรักษาอาการบาดเจ็บ และใช้ตัวผู้เล่นแก้ขัดไปหลายตำแหน่ง แต่ทีมก็ยังสามารถเข้าชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพได้อีกครั้ง โดยครั้งนี้พ่ายต่อโบลตันทำให้ได้เพียงรองแชมป์เท่านั้น หลังจากรักษาตัวเองแล้ว บัสบี้ได้ปรับปรุงทีมในช่วงต้นของทศวรรษ 60 โดยการเซ็นสัญญาคว้านักเตะอย่าง เดนิส ลอว์ กับ แพท ครีแลนด์มาเสริมทีม แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดก็ชนะเลิศฟุตบอลเอฟเอ คัพในปี 1963 และได้แชมป์ฟุตบอลลีกในปี 1965 และ 1967 นอกจากนี้ ยังได้แชมป์ฟุตบอลยูโรเปี้ยนคัพเป็นสโมสรแรกของอังกฤษในปี 1968 ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียง 10 ปี เท่านั้นหลังจากเกิดเหตุโศกนาฏกรรมที่มิวนิค ที่ทำให้ทีมต้องสูญเสียผู้เล่นตัวหลักไปถึง 8 คน และจากความยอดเยี่ยมของทีมชุดนี้ ทำให้มีนักเตะ 3 คนด้วยกัน ที่สามารถคว้ารางวัลนักเตะยอดเยี่ยมของยุโรป (บัลลงดอร์) ได้แก่เดนิส ลอว์ ได้รับรางวัลในปี 1964 คนที่สองคือบ๊อบบี้ ชาร์ลตันได้รับในปี 1966 หลังจากพาทีมชาติอังกฤษคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกครั้งแรกและครั้งเดียวของพวกเค้า และจอร์จ เบสต์ได้รับรางวัลในปี 1968 หลังจากโชว์ฟอร์มอันยอดเยี่ยมพาแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคว้าแชมป์ฟุตบอลยูโรเปียน คัพเป็นครั้งแรกของสโมสรและครั้งแรกของอังกฤษ
บัสบี้ได้ลาออกจากการเป็นผู้จัดการทีมในปี 1969 โดยมีวิฟ แมคกินเนสโค้ชทีมสำรองทำหน้าที่แทน


1969-1986สโมสรได้พยายามหาตัวแทนที่เหมาะสมของบัสบี โดยใช้ผู้จัดการทีมไปหลายคน ได้แก่ วิฟ แมคกิวเนส, แฟรงค์ โอนีล ก่อนที่ ทอมมี โดเคอร์ตี้เข้ามาคุมทีมในปี 1972 เขาได้ช่วยทีมให้รอดจากการตกชั้น แต่อย่างไรก็ดี ทีมก็ได้ตกชั้นลงไปในปี 1974 แต่สโมสรก็ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาทันทีในปีถัดไป และยังได้เข้าชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพในปีต่อมาอีกด้วย จากนั้นก็ได้เข้าชิงชนะเลิศอีกครั้งในปี 1977 โดยครั้งนี้สามารถคว้าแชมป์ได้โดยการเอาชนะทีมลิเวอร์พูล เป็นการดับความหวังการคว้าสามแชมป์ในปีเดียวกันของหงส์แดงลงไป ถึงเขาจะทำหน้าที่ได้ดี แต่ก็ถูกไล่ออกหลังจากรอบชิงชนะเลิศปีนั้นเนื่องจากมีข่าวพัวพันกับภรรยาของนักกายภาพบำบัด
เดฟ เซกซ์ตันได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมต่อในฤดูกาล 1977-1978 และเปลี่ยนระบบการเล่นของทีมให้เน้นเกมรับมากขึ้น ระบบนี้ทำให้แฟนบอลไม่ค่อยพอใจมากนัก หลังจากทำทีมไม่ประสบความสำเร็จ เขาถูกไล่ออกในปี 1981 รอน แอคคินสันได้เข้ามาทำหนาที่นี้แทน เมื่อเขาเข้ามาก็ได้ทำลายสถิติซื้อขายสูงสุดของอังกฤษโดยการคว้าตัวไบรอัน ร็อบสัน มาจากเวสต์บรอมวิช รวมถึง การคว้าตัว เจสเปอร์ โอลเซน และกอร์ดอน สตรัคคั่น ในขณะที่มีนักเตะอย่างมาร์ค ฮิวจส์ และนอร์แมน ไวท์ไซด์ที่ขึ้นมาจากทีมเยาวชนของสโมสร แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้แชมป์เอฟเอ คัพในปี 1983
ปี 1985 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดทำผลงานได้ดีในช่วงเปิดฤดูกาลโดยการชนะ 10 นัดรวด ทำให้มีคะแนนนำทีมอื่นถึง 10 คะแนนตั้งแต่ต้นฤดูกาล แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นทีมทำผลงานได้ไม่ดีและจบฤดูกาลด้วยอันดับ 4 ของลีก ผลงานในปีต่อมาก็ไม่ได้ดีขึ้น ทีมต้องหนีการตกชั้น ทำให้รอน แอคคินสันถูกไล่ออกไป

ยุคของ เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน (1986-ปัจจุบัน)อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้เข้ามาคุมทีมต่อ โดยในฤดูกาลแรกสโมสรจบฤดูกาลด้วยอันดับ 11 แต่ในปีต่อมาก็ได้อันดับสองโดยไบรอัน แมคแคลร์ทำประตูได้ถึง 21 ประตู เป็นคนแรกของทีมหลังจากที่จอร์จ เบสต์เคยทำได้มาก่อนหน้านี้ ในปี 1989 เฟอร์กูสันเกิดความยากลำบากในการคุมทีมขึ้น เนื่องจากตัวผู้เล่นหลายตัวที่เขานำเข้ามาในทีมไม่เป็นที่พอใจของแฟนบอล มีข่าวออกมาว่าสโมสรจะปลดเฟอร์กี้ออกจากการเป็นผู้จัดการทีมในช่วงต้นปี 1990 แต่การชนะนอตติ้งแฮม ฟอเรสต์ในรอบสาม ของเอฟเอ คัพ ก็ทำให้เขาสามารถคุมทีมต่อไปได้ จนคว้าแชมป์เอฟเอ คัพได้ในปีนั้น เป็นแชมป์แรกให้กับเขาในการคุมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ฤดูกาล 1990-91 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดคว้าแชมป์คัพ วินเนอร์ส คัพ โดยการเอาชนะบาร์เซโลนา จากสเปน ในนัดชิงชนะเลิศ แต่ปีต่อมาทีมทำผลงานไม่ดีนักในพรีเมียร์ลีก สโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในลอนดอนเมื่อปี 1991 ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 18 ล้านปอนด์ จากนั้น สโมสรต้องเปิดเผยข้อมูลการเงินทั้งหมดสู่สาธารณะ
เอริค คันโตนาย้ายจากลีดส์ ยูไนเต็ดมาร่วมทีมเมื่อปี 1992 ส่งผลต่อความสำเร็จของทีมเป็นอย่า มาก ทำให้ทีมได้แชมป์พรีเมียร์ลีกในฤดูกาลนั้นทันที ซึ่งนับเป็นแชมป์ลีกหนแรกในรอบ 26 ปี นับจากที่ได้มาครั้งล่าสุดในปี 1967 ปีต่อมา ทีมได้ดับเบิลแชมป์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร แต่ในปี 1994 นั้นเอง แมตต์ บัสบี้ ตำนานกุนซือของได้เสียชีวิตลงในวันที่ 20 มกราคม ฤดูกาล 1994-95 คันโตนาถูกสมาคมฟุตบอลอังกฤษลงโทษห้ามแข่งถึง 8 เดือน หลังจากที่ไปกระโดดถีบใส่แมทธิว ซิมมอนส์ แฟนบอลคริสตัล พาเลซ ปีนั้น แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้รองแชมป์ทั้งพรีเมียร์ลีกและเอฟเอ คัพ เฟอร์กูสันได้กระทำสิ่งที่ขัดใจแฟนบอลของทีมอีกครั้ง ด้วยการขายนักเตะสำคัญของทีมและดันนักเตะจากทีมเยาวชนขึ้นมาเล่นแทน แต่ปีนั้นทีมก็สามารถคว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้อย่างน่ายกย่อง โดยเป็นทีมแรกของเกาะอังกฤษ ที่สามารถคว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้เป็นสมัยที่สองซึ่งเว้นจากครั้งแรกที่ได้ดับเบิ้ลแชม์ในปี 1994 เพียงปีเดียว และสามารถที่จะลบคำสบประมาทที่ถูกปรามาสเอาไว้ว่าไม่สามารถที่จะประสบความสำเร็จใดๆได้ จากการผลักดันเด็กเยาวชนของทีมให้ขึ้นมาเล่นในทีมชุดใหญ่
สโมสรคว้าแชมป์ลีกอีกครั้งในปี 1997 จากนั้น เอริค คันโตนาได้ประกาศเลิกเล่นฟุตบอลด้วยวัยเพียง 30 ปีซึ่งเร็วกว่านักเตะคนอื่นๆ มาก ฤดูกาลทีมยังเริ่มต้นการแข่งขันได้ดี แต่มีปัญหาอาการบาดเจ็บรบกวนมามากจนทำให้จบฤดูกาลได้เพียงอันดับสองเท่านั้น ปี 1998-99 ถือเป็นปีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์สโมสร ด้วยการเป็นทีมแรกของอังกฤษที่คว้าทริปเปิลแชมป์ ซึ่งประกอบด้วยพรีเมียร์ลีก เอฟเอคัพ และยูฟา แชมเปี้ยนส์ลีกได้ในฤดูกาลเดียวกันอย่างน่าประทับใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก โดยในนาทีสุดท้ายของเกมนั้น ทีมยังตามหลังบาเยิร์น มิวนิกอยู่ 1-0 แต่แล้วในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ 3 นาทีนั้น ทีมสามารถทำได้ถึงสองประตูพลิกกลับมาชนะ 2-1 ได้อย่างเหลือเชื่อจากเท็ดดี้ เชอริงแฮม และ "เพชรฆาตหน้าทารก" โอเล่ กุนนาร์ โซลชา จากการคว้าสามแชมป์ ทำให้อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้รับการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากสมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบถที่ 2 เป็นท่านเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน เพื่อตอบแทนผลงานที่สามารถสร้างชื่อเสียงและเกียรติประวัติให้แก่ประเทศ ซึ่งถือเป็นบุคคลที่ได้รับตำแหน่งท่านเซอร์คนที่ 3 ในประวัติศาสตร์ของสโมสร โดยผู้ที่ได้รับคนแรกคือ เซอร์แมตต์ บัสบี้ คนที่สองคือ เซอร์บ็อบบี้ ชาร์ลตัน ตำนานของสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
หลังจากคว้าแชมป์ลีกในฤดูกาลที่ผ่านมา ในฤดูกาล 1999-2000 ถึง 2000-2001 ยูไนเต็ดสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ในวงการฟุตบอลอังกฤษโดยการแชมป์ลีก 3 ครั้งติดต่อกัน ซึ่งเป็นทีมทึ่ 2 ที่ทำได้ (ทีมที่ทำได้ก่อนหน้าคือลิเวอร์พูล) และในช่วงนั้นยูไนเต็ดได้คว้าตัวนักเตะสำคัญคือ กองหน้าชาวดัตช์ รุด ฟาน นิสเตลรอย ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็น 1 ในตำนานสโมสรที่ลงสนาม 220 นัด และยิงได้ถึง 150 ประตู และริโอ เฟอร์ดินานด์ กองหลังที่มีค่าตัวสูงถึง 30 ล้านปอนด์ แต่อย่างไรก็ดี ในปี 2001-2006 ยูไนเต็ดได้ประสบปัญหาหลายอย่าง อย่างแรกคือสโมสรไม่สามารถหาผู้รักษาประตูที่เป็นตัวตายตัวแทนของ ปีเตอร์ ชไมเคิ่ล ได้ สโมสรได้เปลี่ยนผู้รักษาประตูมือ 1 หลายคน ไม่ว่าจะเป็นมาร์ค บอสนิช, ไรมอนด์ ฟาน เดอ ฮาว, มัสซิโม่ ตาอิบี้, พอล ราชุบก้า, แอนดี้ กอแร่ม, ฟาเบียง บาร์กเตซ, ทิม โฮเวิร์ด, รอย คาโรล, และ ริคาร์โด้ โลเปซ และปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือมีผู้เล่นที่เป็นกำลังหลักจำนวนมากได้ออกจากสโมสรไม่ว่าจะเป็นยาป สตัม, เดวิด เบ็คแฮม, รอย คีน กัปตันทีม, หรือแม้กระทั่งรุด ฟาน นิสเตลรอย โดยมีสาเหตุมาจากการมีปัญหากับเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ทั้งสิ้น ในช่วง 5 ปีนี้ ยูไนเต็ดคว้าแชมป์ลีกเพียงครั้งเดียว (ฤดูกาล 2002-2003) และได้ถ้วยรางวัลอื่นๆ อีก 2 รายการ คือ เอฟเอคัพ (2003-2004) และ ลีกคัพ (2005-2006) เท่านั้น โดยใน 2 ฤดูกาลหลัง เชลซีได้เข้ามามีบทบาทเด่นในฟุตบอลลีกเนื่องมาจากการเข้าเทคโอเวอร์สโมสรของ โรมัน อบราโมวิช มหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ทำให้เชลซีมีงบประมาณซื้อตัวผู้เล่นไม่จำกัดและคว้าแชมป์ลีก 2 ปีติดต่อกัน
ต่อมาในปี 2006-2008 อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้ผ่าตัดทีมใหม่อีกครั้ง โดยมีแกรี่ เนวิลล์ เป็นกัปตันทีมคนใหม่ที่รับตำแหน่งกัปตันแทน รอย คีน 11 ผู้เล่นของยูไนเต็ดมีความลงตัวกว่าปีที่ผ่านๆ มา ผู้เล่นที่โดดเด่นมี เอ็ดวิน ฟาน เดอ ซาร์ ผู้รักษาประตูทีมชาติฮอลแลนด์ที่เป็นตัวแทนของ ปีเตอร์ ชไมเคิ่ล และกองหลังมีเนมานย่า วิดิช ผู้เล่นยอดเยี่ยมของเซอร์เบียแอนด์มอนเตเนโกร และริโอ เฟอร์ดินานด์กองหลังค่าตัว 30 ล้านปอนด์เป็นแกนกลาง, ปีกซ้ายขวามี คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ปีกดาวรุ่งโปรตุเกสที่สืบทอดเสื้อหมายเลข 7 ต่อจากเดวิด เบ็คแฮม และนานี่ ปีกดาวรุ่งผู้เป็นตัวแทนของไรอัน กิ๊กส์ และกองหน้ามี เวย์น รูนี่ย์ ดาวยิงประตูที่มีค่าตัวถึง 27 ล้านปอนด์เป็นกำลังหลัก อเล็กซ์เฟอร์กูสันได้กล่าวว่าทีมชุดนี้เป็นชุดที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้ชุดปี 1999, ซึ่งทีมชุดนี้สามารถนำแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไล่ล่าความสำเร็จอีกครั้ง โดยการคว้าแชมป์ลีก 3 ปีติดต่อกันในปี 2006-2009 และการคว้าแชมป์ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีกอีกครั้งในฤดูกาล 2007-2008


การเทคโอเวอร์ของมัลคอล์ม เกลเซอร์ในวันที่12 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 (2005) มัลคอล์ม เกลเซอร์ นักธุรกิจชาวสหรัฐอเมริกาสามารถครอบครองในสโมสรเกินร้อยละ 70 หลังจากบรรลุข้อตกลงซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นเจ. พี. แมกมานัส และจอห์น แมกเนียร์ ซึ่งถือหุ้นอยู่ร้อยละ 28.7 จาก และแฮร์รี่ ดอบสัน ผู้ถือหุ้นใหญ่ลำดับสามชาวสกอต ในวันที่ 16 พฤษภาคม เกลเซอร์ครอบครองหุ้นเกินร้อยละ 75 ซึ่งทำให้เขาสามารถนำสโมสรออกจากตลาดหลักทรัพย์ได้ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดถูกนำออกจากตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนในวันที่ 22 มิถุนายน เกลเซอร์สามารถครอบครองหุ้นร้อยละ 98 เป็นผลสำเร็จในวันที่ 28 มิถุนายน ซึ่งเกินระดับที่กำหนดให้บังคับซื้อหุ้นส่วนที่เหลือ มัลคอล์ม เกลเซอร์แต่งตั้งลูกชายสามคนของเขาเข้าในคณะกรรมการบริหาร ผู้สนับสนุนจำนวนมากไม่พอใจการเข้าครอบครองกิจการของเกลเซอร์

ประวัติสนาม

สนามโอลด์ แทรฟฟอร์ด (Old Trafford)

โอลด์ แทรฟฟอร์ด (Old Trafford) เป็นสนามกีฬาในเขตแทรฟฟอร์ดของเกรตเตอร์แมนเชสเตอร์ และเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สนามกีฬาเริ่มก่อสร้างในปี ค.ศ. 1909 และเริ่มเปิดใช้ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1910 ซึ่งใช้มาตลอดยกเว้นในช่วง 8 ปี ที่สนามโดนระเบิดในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วง 1941-1949 โอลด์ แทรฟฟอร์ด ในปัจจุบัน เป็นสนามฟุตบอลซึ่งติดตั้งเก้าอี้หมดทุกพื้นที่ของสแตนด์ เป็นสนามที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอังกฤษ ในแง่ของจำนวนแฟนบอลที่รองรับได้ ซึ่งมากถึง 76,212 คนเป็นรองแค่ เวมบลีย์ สเตเดี้ยม เพียงแห่งเดียว และใหญ่อันดับ 3 ของสหราชอาณาจักร ใหญ่เป็นอันดับ 11 ของยุโรปนอกจากนั้นยังเป็น 1 ใน 2 สนามในอังกฤษที่ ยูฟ่า รับรองเป็นสนาม 5 ดาว ชื่อเรียกที่แฟนบอลคุ้นหูและเร้าอารมณ์ว่า "โรงละครแห่งความฝัน" นั้น คนแรกที่แรกที่เรียกชื่อนี้คือ เซอร์ บ็อบบี้ ชาร์ลตัน บุคคลระดับตำนานของสโมสรนั่นเอง สนามโอลด์แทรฟฟอร์ดนี้มักจะถูกใช้เป็นสนามในการแข่งขันเอฟเอคัพรอบรองชนะเลิศ และเป็นสนามหลักในการแข่งขันหลายอย่างในขณะที่สนามกีฬาเวมบลีย์อยู่ในระหว่างการปรับปรุง นอกจากนี้ยังได้เป็นสนามแข่งขันนัดสำคัญหลายอย่างไม่ว่าฟุตบอลโลก 1966 หรือแชมเปียนส์ลีกในปี 2003 และจะถูกใช้แข่งขันฟุตบอลในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่กรุงลอนดอนเป็นเจ้าภาพ

โครงสร้างและการใช้งาน    * สนามหญ้าเขียวขจีของ โอลด์ แทรฟฟอร์ด ล้อมรอบด้วยสแตนด์ที่นั่งล้วนมีหลังคามคุม 4 ด้าน ชื่อเรียกทางการคือ สแตนด์ทิศเหนือ, ทิศใต้, ทิศตะวันออก, ทิศตะวันตก สแตนด์แต่ละทิศมีอย่างน้อย 2 ชั้นยกเว้นทิศใต้ที่มีเพียงชั้นเดียว เนื่องมาจากข้อจำกัดในการก่อสร้าง    * สแตนด์ทิศเหนือสมัยก่อนเรียกกัน ว่า "ยูไนเต็ด โร้ด สแตนด์" มีทั้งสิ้น 3 ชั้นรองรับแฟนบอลได้ทั้งสิ้นราว 26,000 ที่นั่ง มากที่สุดในบรรดาสแตนด์ทั้ง 4 ทิศและสแตนด์ทางทิศเหนือยังรองรับแฟนบอลได้มากกว่านั้นอีกนิดหน่อยเพราะมี บ็อกซ์พิเศษตั้งอยู่ สแตนด์ทิศเหนือเปิดใช้งานในรูปลักษณ์ที่เห็นในปัจจุบัน เมื่อปี 1996 โดยก่อนหน้านั้นมีเพียงชั้นเดียวเท่านั้น และด้วยการเป็นสแตนด์หลักของสนาม สแตนด์ทิศเหนือจึงเป็นที่ตั้งหลักของหลายต่อหลายจุดอันเป็นที่นิยม รวมไปถึงเร้ด ค่าเฟ่(ร้านอาหาร/บาร์ ในธีมสีแดงของ แมนฯ ยูไนเต็ด) และพิพิธภัณฑ์แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด กับห้องเก็บโทรฟี่ซึ่งเปิดในปี 1986 นับว่าเป็นที่แรกในโลกสำหรับการเปิดพิพิธภัณฑ์ลักษณะนี้ของสโมสรฟุตบอล คนที่เป็นประธานเปิดพิพิธภัณฑ์คือ ราชาลูกหนังโลก เปเล่ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 1998












เพลงประจำสโมสร



 Glory glory Man United

Glory, glory, Man United,
Glory, glory, Man United,
Glory, glory, Man United,
And the reds go marching on, on, on.
Just like the Busby Babes in Days gone by
We'll keep the Red Flags flying high
You've got to see yourself from far and wide
You've got to hear the masses sing with pride
United! Man United!
We're the boys in Red and we're on our way to Wem-ber-ly
Wem-ber-ly! Wem-ber-ly!
We're the famous Man United and we're going to Wem-ber-ly
Wem-ber-ly! Wem-ber-ly!
We're the famous Man United and we're going to Wem-ber-ly
In Seventy-Seven it was Docherty
Atkinson will make it Eighty-Three
And everyone will know just who we are
They'll be singing 'Que Sera Sera'
United! Man United!
We're the boys in Red and we're on our way to Wem-ber-ly
Wem-ber-ly! Wem-ber-ly!
We're the famous Man United and we're going to Wem-ber-ly
Wem-ber-ly! Wem-ber-ly!
We're the famous Man United and we're going to Wem-ber-ly
Glory, glory, Man United,
Glory, glory, Man United,
Glory, glory, Man United,
As the Reds Go Marching On! On! On! (3x)